วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่างค่าพิกัดที่เปิดฉากจากโค้ง Circular Curve

จากสองบทที่ผ่านมา หลังจากได้ค่าพิกัดบนโค้งและ Azimuth เปิดฉากแล้ว ในบทนี้จะแสดงเพียงตัวอย่างค่าพิกัดที่ได้จากการเปิดฉากเท่านั้น จะไม่ลงรายละเอียดวิธีการคำนวณ



ตัวอย่างที่ 1  

Sta PI 2+235.738,  = 6° 6' 52.90" Rt., R = 1,000

N(PC) = 10,393.366, E(PC) = 10,603.458
N(PI) = 10,344.505, E(PI) = 10,625.030

คำนวณ Azimuth เปิดฉากบนโค้ง Circular Curve

การเปิดฉากบนโค้ง Circular Curve คำนวณได้ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน สูตรที่ใช้คำนวณแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ


  • กรณี โค้งเลี้ยวซ้าย จะใช้สูตร
    Az เปิดฉากด้านซ้าย = Az.PCPI - 90 - 2.Def
    Az เปิดฉากด้านขวา = Az.PCPI + 90 -2.Def

คำนวณพิกัดบนโค้ง Circular Curve

ต่อจากบทที่แล้วเรื่อง วิธีคำนวณ Circular Curve คราวนี้เราจะนำตัวอย่างจากบทที่แล้วมาคำนวณหาค่าพิกัดบนโค้งกัน


ตัวอย่างที่ 1  Sta PI 2+235.738,  = 6° 6' 52.90" Rt., R = 1,000

ข้อมูลเพิ่มเติม
N(PC) = 10,393.366, E(PC) = 10,603.458
N(PI) = 10,344.505, E(PI) = 10,625.030

ให้คำนวณค่าพิกัดทุก 12.5 เมตร

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วิธีคำนวณ Circular Curve

Circular Curve เป็นโค้งแนวราบที่นำเอาส่วนหนึ่งของวงกลมมาใส่ไว้ในช่วงที่มีเส้นแนวถนนสองเส้นมาตัดกัน


จากภาพ เป็นการลากแนวเส้นถนนสองเส้น(T หรือ Tangent) มาตัดกันที่จุด PI เกิดเป็นมุมเห  จากนั้นนำวงกลมที่มีค่ารัศมี R(ที่ได้จากการคำนวณออกแบบ) มาวางให้เส้นรอบวงสัมผัสกับเส้น Tangent ทั้งสองเส้น เกิดเป็นจุดสัมผัสโค้งสองจุดคือจุด PC ที่เป็นจุดเริ่มต้นโค้งและจุด PT ที่เป็นจุดสิ้นสุดโค้ง

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วิธีคำนวณ Vertical Curve และการหาจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของโค้ง

สำหรับหัวข้อนี้จะไม่กล่าวถึงทฤษฎีมากนักแต่จะเน้นวิธีการคำนวณเป็นหลักเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปคำนวณหรือเขียนเป็นโปรแกรมต่อไป

Vertical Curve หรือโค้งดิ่ง เป็นโค้งพาราโบล่าที่ใส่เข้าไปในช่วงที่เส้นตัดเกรดงานระดับถนนตัดกันเพื่อให้การขับขี่ยานพาหนะปลอดภัยมากขึ้น


โค้งดิ่งนี้แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ



  1. โค้งชนิดสมมาตร Symmetrical Curve คือโค้งที่มีระยะจาก sta PVC ถึง sta PVI เท่ากับระยะจาก sta PVI ถึง sta PVT (l1 = l2)
  2. โค้งชนิดไม่สมมาตร Unsymmetrical Curve คือโค้งที่มีระยะจาก sta PVC ถึง sta PVI ไม่เท่ากับระยะจาก sta PVI ถึง sta PVT (l1 ≠ l2)