วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Casio fx-5800P - การเรียงลำดับข้อมูลใน Array

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ Array คือ เราสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อเรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามากได้ เรียกอีกอย่างว่าการ Sorting

การ Sorting นั้นมีหลากหลายวิธี ส่วนวิธีที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างในบทนี้จะใช้วิธีที่เรียกว่า "Selection Sort" เพียงวิธีเดียวซึ่งเป็นวิธีการเรียงลำดับข้อมูลที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในบรรดาทั้งหมด สำหรับท่านที่สนใจการเรียงลำดับข้อมูลวิธีอื่นๆ ก็สามารถค้นหาใน google ด้วยคำว่า "Sorting Algorithm"

Casio fx-5800P - ตัวแปรแบบแถวลำดับ (Array)

 การใช้งานตัวแปรในเครื่อง 5800 โดยปกติแล้วจะมีอยู่ 26 ตัว คือตัวแปร A ถึง Z แต่หากจำเป็นต้องใช้ตัวแปรเกินกว่า 26 ตัว เราสามารถประกาศตัวแปรพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมาใช้งานได้อีก โดยตัวแปรพิเศษนี้เรียกว่า Reserving Variable Memory (ตามคู่มือในหน้า E-35) ลักษณะการใช้งานก็เหมือนกับตัวแปร Array แบบ 1 มิติในภาษาโปรแกรมทั่วไป

ตัวแปร Array หรือตัวแปรแบบแถวลำดับของ 5800 มีรูปแบบเป็นตัวแปรที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรได้ตัวเดียวคือตัว Z ตามด้วยวงเล็บเหลี่ยมภายในวงเล็บเหลี่ยมมีตัวเลขดัชนี(index) ที่เรียงลำดับตั้งแต่เลข 1 จนถึงตัวเลขตามจำนวนที่เราได้ประกาศไว้ หากยังนึกภาพตัวแปร Array แบบ 1 มิติไม่ออกให้นึกถึงกล่องที่วางเรียงๆ กันแล้วมีหมายเลขกำกับเพื่อระบุตำแหน่งของแต่ละกล่องตามภาพ

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

Casio fx-5800P - การป้อนสูตรคำนวณอย่างง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม


 
ในเครื่องคิดเลข 5800 มีสูตรคำนวณสำเร็จรูปที่ติดมากับเครื่องอยู่แล้วที่เรียกว่า Build-in Formulas มีรายชื่อสูตรการใช้งานตามคู่มือเล่มหลักในหน้า E-97 ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยการใช้งานแต่ละสูตรอยู่ในคู่มือเล่มเสริม(Supplement Manual) สามารถดาวน์โหลดคู่มือทั้งสองเล่มได้ที่ https://support.casio.com/manualfile.php?rgn=5&cid=004003003 

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่างค่าพิกัดที่เปิดฉากจากโค้ง Circular Curve

จากสองบทที่ผ่านมา หลังจากได้ค่าพิกัดบนโค้งและ Azimuth เปิดฉากแล้ว ในบทนี้จะแสดงเพียงตัวอย่างค่าพิกัดที่ได้จากการเปิดฉากเท่านั้น จะไม่ลงรายละเอียดวิธีการคำนวณ



ตัวอย่างที่ 1  

Sta PI 2+235.738,  = 6° 6' 52.90" Rt., R = 1,000

N(PC) = 10,393.366, E(PC) = 10,603.458
N(PI) = 10,344.505, E(PI) = 10,625.030

คำนวณ Azimuth เปิดฉากบนโค้ง Circular Curve

การเปิดฉากบนโค้ง Circular Curve คำนวณได้ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน สูตรที่ใช้คำนวณแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ


  • กรณี โค้งเลี้ยวซ้าย จะใช้สูตร
    Az เปิดฉากด้านซ้าย = Az.PCPI - 90 - 2.Def
    Az เปิดฉากด้านขวา = Az.PCPI + 90 -2.Def

คำนวณพิกัดบนโค้ง Circular Curve

ต่อจากบทที่แล้วเรื่อง วิธีคำนวณ Circular Curve คราวนี้เราจะนำตัวอย่างจากบทที่แล้วมาคำนวณหาค่าพิกัดบนโค้งกัน


ตัวอย่างที่ 1  Sta PI 2+235.738,  = 6° 6' 52.90" Rt., R = 1,000

ข้อมูลเพิ่มเติม
N(PC) = 10,393.366, E(PC) = 10,603.458
N(PI) = 10,344.505, E(PI) = 10,625.030

ให้คำนวณค่าพิกัดทุก 12.5 เมตร

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วิธีคำนวณ Circular Curve

Circular Curve เป็นโค้งแนวราบที่นำเอาส่วนหนึ่งของวงกลมมาใส่ไว้ในช่วงที่มีเส้นแนวถนนสองเส้นมาตัดกัน


จากภาพ เป็นการลากแนวเส้นถนนสองเส้น(T หรือ Tangent) มาตัดกันที่จุด PI เกิดเป็นมุมเห  จากนั้นนำวงกลมที่มีค่ารัศมี R(ที่ได้จากการคำนวณออกแบบ) มาวางให้เส้นรอบวงสัมผัสกับเส้น Tangent ทั้งสองเส้น เกิดเป็นจุดสัมผัสโค้งสองจุดคือจุด PC ที่เป็นจุดเริ่มต้นโค้งและจุด PT ที่เป็นจุดสิ้นสุดโค้ง